Suffering | The Master Teacher of all time!

สวัสดีอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2559 ค่ะ

พูดคุยจากผู้เขียน
อย่างแรกที่อยากจะบอก คือ ขอต้อนรับผู้ที่เข้ามาใหม่ทั้งที่หลงมาเยือนหรือถูกเชื้อเชิญเข้ามาในบ้านหลังนี้ค่ะ

หากผู้ที่ได้เข้ามาประจำ อาจจะเห็นว่าเราลบอะไรหลายอย่างทิ้งไป เช่น บทสัมภาษณ์ผู้คน หรือ Review สถานที่ต่างๆ รวมทั้ง ผลงานต่างๆที่เราได้เคยทำมา โดยเราตั้งใจจะแยกสิ่งที่เป็น Portfolio ออกไปไว้อีกที่หนึ่งแทน เพื่อที่เนื้อหาจะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันค่ะ ส่วนเราจะเพิ่มอะไรเข้ามา หรือทำการเปลี่ยนแปลงอะไรในที่นี้ต่อนั้น ขึ้นอยู่กับวาระที่อำนวยค่ะ

สำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่ เราจะโพสเนื้อหาเดือนละ 1 ครั้งค่ะ เพราะในแต่ละเดือนมีเหตุการณ์เข้ามาไม่ซ้ำกันและเหตุการณ์แต่ละอย่าง ทำให้เราขบคิด ทบทวนและตกตะกอนได้ต่างกัน..แต่บางครั้งก็ตันบ้าง เขียนไม่ออกบ้างตามประสานัก”อยาก”เขียนค่ะ

ขอขอบคุณทุกๆความสนใจในเนื้อหาที่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าถึงใจและใส่ใจกับมัน และขอให้ผู้อ่านได้ “คลาย” กังวลหลังจากการอ่านกันไม่มากก็น้อยนะคะ

———-

เรารู้สึกยินดีกับการเขียนและโพสท์ลงไปในเดือนนี้ได้ ดูเหมือนว่า วันเวลาจะยาวเป็นพิเศษสำหรับเรา อาจเพราะได้เจอะเจอผู้คนที่แบ่งปันประสบการณ์ต่างๆให้เราได้ยิน ได้ฟังกันจนเหมือนเราได้ไปท่องเที่ยวกับโลกหลายๆใบ ต่างสีสัน ต่างรูปแบบกัน เราอยากจะสื่อถึงมิตรสหายรวมทั้งเก็บไว้เตือนตัวเราเองเกี่ยวกับความทุกข์ที่เราต้องได้เจอค่ะ

ความทุกข์คือที่สุดแห่งครู

เมื่อต้นเดือน เราได้ดู ซีรีส์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับจิตแพทย์คนหนึ่งที่ทำการรักษาคนไข้โดยพยายามค้นหาสาเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน และมองว่า อาการต่างๆที่เกิดขึ้นสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยา

มีเคสหนึ่งที่เราชอบเป็นพิเศษค่ะ รายละเอียดอาจจะไม่ตรงทั้งหมด มีเพี้ยนไปบ้าง ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้นะคะ คนไข้รายนี้มีอาการชัก เกร็ง และเป็นลมหมดสติ ก่อนที่จะเข้ามาที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นคนไม่พูดคุยกับใคร เหม่อลอย ไม่ยินดียินร้ายกับอะไร

เดิมที คนไข้รายนี้ เป็นคนที่มีความสุข ร่าเริงทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน แต่เริ่มเงียบลง เมื่อได้รับการเลื่อนขั้น และดูเหมือนว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เพื่อนร่วมงานเกิดการอิจฉา และพากันกลั่นแกล้งทั้งใน social media และในที่ทำงานจนทำให้คนไข้รายนี้คิดว่า เค้าทำอะไรผิด? และโทษตัวเอง จนรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่ากลายเป็นความชินชาต่อทุกๆสิ่งสิ่งเหล่านี้ เริ่มดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและให้หยุดทำงานสักพักหนึ่งเพื่อทำการรักษา

อาการดูเหมือนว่าจะดีขึ้น แต่อาการชักและเป็นลมก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อคนไข้กลับไปที่ทำงานอีกครั้ง ในคราวนี้หมอเริ่มเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด และใช้คำว่า “ไม่ต้องพยายามขนาดนั้นก็ได้” หรือ “ลองลดความพยายามลง” เป็นคำพูดที่หมอมักจะพูดทั้งเรื่องเมื่อรักษาคนไข้

สิ่งหนึ่งที่เป็นวิธีที่เราคาดไม่ถึง คือ หมอให้คนไข้กำน้ำแข็งเอาไว้ในมือ จนมือรู้สึกเย็นมาก และคนไข้ก็ต้องการจะทิ้งมัน

“มันเย็นมากใช่มั้ย” หมอถามในขณะที่พยายามให้คนไข้กำน้ำแข็งต่อไป”ความเย็น ก็เหมือนกับความเจ็บปวด”
คนไข้ยังคงกำน้ำแข็งต่อไป พร้อมๆกับน้ำตาที่ไหลลงมาและหลังจากการบำบัดคราวนั้น คนไข้กลับมามีความมั่นใจและเดินหน้าไปอีกครั้งพร้อมกับความเข้าใจที่เกิดขึ้นว่า

“หากเรายอมรับและเผชิญหน้าความเจ็บปวดเหล่านั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องหาทางหนีหรือทำเป็นมองไม่เห็นมัน
แต่เราจะได้มองเห็นมันตรงๆ และค่อยๆแก้ปัญหาเหล่านั้นทั้งในตัวเราเองและสถานการณ์ ปัญหาที่เรารู้สึกแย่กับมันจะค่อยๆคลายออกทีละเปราะๆ ไปได้เอง”

และการที่หมอบอกว่า ” ไม่ต้องพยายามขนาดนั้นก็ได้” จะช่วยลดความกดดันในตัวเองลง ซึ่งเป็นผลทำให้ความเครียดเบาบางลงเช่นกัน

ความทุกข์ความเจ็บปวด…. มันคือครูที่ทำให้เราเติบโตทางจิตวิญญาณหากเราให้อภัยตัวเองและผู้อื่นได้ แต่ในขณะเดียวกัน ความเจ็บปวดก็สามารถเปลี่ยนจิตใจคนในฝั่งตรงข้ามได้ไม่ยากนัก ขึ้นอยู่กับการมองเห็นแสงสว่างจากมัน ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และเข้าใจสัจธรรมของทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมันเอง


อันที่จริงแล้วยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากจะเล่าสู่กันฟังค่ะ แต่เกรงว่าจะยาวเกินไปจนน่าเบื่อ.. เอาเป็นว่า รอบหน้าจะเข้ามาแบ่งปันประสบการณ์กันอีกนะคะ กว่าจะเขียนออกก็ปาไปปลายเดือน สิงหาคมแล้ว

ไว้เจอกันเดือนกันยายนค่ะ 🙂

โอลีฟ x เดอะ ฑูต

Advertisement

Share your thoughts with us!

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s